วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แววมยุรา

แววมยุรา

Prayer Plant

แววมยุราเป็นพืชพันธุ์ไม้เลื้อยกึ่งคลุมดินในตระกูลเดียวกับคล้า แต่การปลูกเลี้ยงง่ายกว่ามาก เพราะมีความอดทนและเจริญเติบโตได้ง่ายในทุกสภาวะของห้อง แววมยุรามีใบด้านหน้าสีเขียวสลับลายเขียวแก่หรือน้ำตาล ส่วนหลังใบมีสีเขียวอมแดงหรือม่วงมีลายสลับเช่นเดียวกัน เนื่องด้วยใบมีลวดลายและสีสันสวยงามคล้ายหางนกยูงจึงได้ชื่อไทยว่า “แววมยุรา” ส่วนภาษาอังกฤษได้ชื่อว่า “Prayer Plan” แปลว่า ต้นไม้พนมมือ โดยตั้งชื่อตามลักษณะการกระดกของใบตั้งขึ้นเหมือนการพนมมือตอนใกล้ค่ำ พอตอนรุ่งเช้าใบก็จะคลี่ออกตามเดิม
แววมยุราเป็นไม้ประดับภายในอาคารที่ช่วยทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื้นภายในห้องได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าคุณสมบัติในการดูดสารพิษจะน้อยไปสักนิดก็ตาม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Maranta Leuconeura
วงศ์ MARANTACEAE
ถิ่นกำเนิด บราซิล อเมริกาใต้
แสงแดด กึ่งแดด กึ่งร่ม
อุณหภูมิ 18–24 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นสูง
น้ำ ต้องการน้ำมาก
การดูแล เป็นพันธุ์ไม้ที่ต้องการแดดปานกลาง แต่ไม่ชอบแสงแดดโดยตรง ต้องการน้ำมาก ความชื้นสูง จึงควรรดน้ำให้ดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ ถ้าอากาศร้อนหรือแห้งแล้งมาก ก็ให้ฉีดพ่นละอองน้ำให้ใบชุ่มชื้น ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกละลายน้ำรดเดือนละครั้ง
การปลูก ควรปลูกในดินที่อุ้มน้ำได้ดี ส่วนผสมดินใช้ดินเหนียวผสมดินร่วน 2 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน เศษใบไม้ผุ 1 ส่วน ทราย 1 ส่วน
การขยายพันธุ์ การแยกกอหรือแบ่งเหง้าที่โตเต็มที่แล้วมาปลูก
อัตราการคายความชื้น ปานกลางถึงมาก
อัตราการดูดสารพิษ น้อย

ที่มา http://www.panmai.com/Pollution/Pollution_35.shtml

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น