วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

พลูด่าง

                
                                     พลูด่าง

ป็นไม้เลื้อย ที่มีสีสันของใบเป็นสีเขียวป่นสีขาวเหลือง มักะจขึ้นอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ๆ ลักษณะใบเป็นรูปหัวใจขนาดพอประมาณ 3 -6 นิ้ว เจริญเติบโตได้ดีตามลำต้นไม้ที่มีความสมบูรณ์ นิยมนำมาเป็นไม้มงคลประดับบ้านเรือน เนื่องจากเราเชื่อว่า พลูด่าง โกสน หรือ หมากผู้หมากเมีย หรือต้นไม้มงคลต่างๆ หากอยู่ในบ้านจะช่วยเสริมสร้างสิริมงคล พลูด่างปลูกง่าย การปลูกนิยมแยกกิ่ง ปักชำ ใส่ในกระถ่างก็ได้ การให้น้ำสัปดาห์ละครั้งก็ได้  
พลูด่างเป็นไม้เลื้อยที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคารและบ้านเรือนมานานแล้ว ด้วยรูปใบและสีเขียวแต้มเหลืองที่ดูสวยงาม โดยเฉพาะเมื่อมันเลื้อยพันหรือห้อยย้อยลงมาดูอ่อนช้อยและเพิ่มความมีชีวิตชีวา แต่มีน้อยคนนักที่จะรู้ถึงความสามารถในการดูดสารพิษในอากาศของพลูด่าง
พลูด่างเป็นไม้เลื้อยที่ลำต้นมีรากงอกออกมาตามข้อ ใบกลมป้อมคล้ายรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบโค้งมนเล็กน้อย ใบมีสีเขียวและมีรอยด่างสีเหลืองอยู่ที่ใบทำให้ดูสวยงาม
พลูด่างเป็นพืชที่ปลูกง่าย แม้เพียงปักชำในน้ำก็สามารถเจริญเติบโตได้และเจริญเติบโตได้รวดเร็ว ต้องการน้ำมากและแสงแดดพอสมควร แต่ก็สามารถอยู่ได้แม้มีแสงและน้ำน้อย นิยมปลูกในกระถางแขวนหรือกระถางที่มีเสาเหล็กให้เลื้อยพันหรือให้เลื้อยตามโคนต้นไม้ใหญ่ ถ้าปลูกลงดินใบจะใหญ่มาก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scindapsus aureus
วงศ์ ARACEAE
ถิ่นกำเนิด หมู่เกาะโซโลมอน
แสงแดด กึ่งแดด ร่มรำไร
อุณหภูมิ 18–24 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นสูง
น้ำ ต้องการน้ำมาก
การดูแล ต้องการแสงจากแสงแดดหรือแสงไฟจากไฟนีออนพอสมควร ต้องการน้ำพอสมควร ถ้าอากาศภายในห้องแห้ง ควรฉีดหรือพ่นละอองไอน้ำให้ หรือเช็ดใบด้วยผ้าเปียกหมาดๆ
การปลูก ขยายพันธุ์โดยการใช้กิ่งหรือลำต้นที่มีใบติดอยู่ไป ปักชำเลี้ยงในน้ำหรือปลูกในดินก็ได้ ปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด ส่วนผสมของดินใช้ดิน 2 ส่วน ทราย 1 ส่วน เศษใบไม้ผุหรือขุยมะพร้าว 1 ส่วน ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักละลายน้ำอย่างเจือจางรดเดือนละครั้ง
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการปักชำ
อัตราการคายความชื้น ปานกลาง
อัตราการดูดสารพิษ มาก




ที่มา http://53011311010.blogspot.com/2012/09/blog-post_7.html

เศรษฐีเรือนนอก


เศรษฐีเรือนนอก

ป็นไม้ในวงศ์ Anthericaceae มีเหง้าใต้ดิน รากสีขาว อวบน้ำ ใบเป็นแถบยาวสีเขียว ขลิบขาวตามขอบใบ ดอกสีขาว ขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม เป็นพืชพื้นเมืองของกาบอง

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cholorophytum comosum. (Anthesicum Vittatum)

วงศ์

LILIACEAE

ชื่อสามัญ

Spider Plant

ชื่ออื่นๆ

-

ลักษณะทั่วไป

ว่านเศรษฐีเรือนนอกเป็นไม้กอขนาดเล็ก มีหัวอยู่ใต้ดิน ไม่มีลำต้น ใบแตกกระจายออกเป็นพุ่มอยู่เหนือดิน ใบแกมขนานคล้ายใบตะไคร้ แต่สั้นกว่ามาก มีใบด่างขาว หรือขาวนวลที่ริมใบ ลักษณะอื่นๆ จะเหมือนเศรษฐีเรือนกลางคือ เมื่อใบยาวเต็มที่จะโค้งงอลงดิน เมื่อโตเต็มที่จะมีไหลเหนือดินแตกเป็นต้นใหม่ได้เช่นเดียวกัน

การปลูก

ว่านเศรษฐีเรือนนอกชอบดินร่วนหรือดินปนทราย ซึ่งระบายน้ำได้ดี ให้แดดรำไร หรือปลูกที่ร่มให้ถูกแสงแดดบ้างในบางเวลา รดน้ำปานกลาง

การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ หรือใช้ต้นอ่อนที่เกิดจากไหลไปปลูกใหม่

ความเป็นมงคล

นอกจากว่านเศรษฐีเรือนนอกจะมีสรรพคุณในทางคุ้มครองป้องกันภัยแล้ว ยังถือเป็นว่านเสี่ยงทาฐานะหากว่านเจริญงอกงามผู้เลี้ยงก็จะมีฐานะเจริญรุ่งเรืองด้วย


ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81

โกสน

โกสน Croton

 เป็นไม้ประดับอีกชนิดหนึ่ง ที่มีจุดเด่นอยู่ที่สีสันและลักษณะรูปทรงของใบ ที่มีความสวยงามต่างไปจากไม้อื่นๆ โกสน จัดเป็นไม้ประเภท ไม้พุ่ม มีขนาดตั้งแต่พุ่มขนาดเล็กจนถึงพุ่มขนาดใหญ่ โดยทั่วไปนิยมปลูกเป็นไม้ประดับในกระถางเพื่อให้มีลักษณะเป็นพุ่มเล็กๆ แต่ถ้าปลูกลงดิน และมีอายุหลายปีลำต้นสูงใหญ่เป็นพุ่มขนาดใหญ่ได้เช่นกัน จุดเด่นของโกสนคือเป็นไม้ที่มีใบแปลกไปจากไม้ชนิดอื่นๆ คือ มีรูปร่าง ลักษณะ ของใบ แตกต่างกันออกไปหลากหลายรูปแบบ มีสีสันของใบหลายสีในใบหรือต้นเดียวกัน
โกสนเป็นพันธุ์ไม้ตระกูลเดียวกับโป๊ยเซียน โกสนมีอยู่มากมายหลายพันธุ์ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ความโดดเด่นอยู่ที่ลักษณะของใบที่มีหลากหลายทั้งรูปแบบและสีสันที่สดใสงดงาม จึงนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั้งภายในและภายนอกอาคาร ตามปกติโกสนเป็นไม้ประดับที่ปลูกไว้ภายนอกอาคาร เพราะเป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแดด สีสันของโกสนจะสวยงามอยู่ได้ขึ้นอยู่กับการที่ได้รับแสงแดดที่พอเพียง ดังนั้นเมื่อนำโกสนมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคาร จึงควรตั้งไว้ในที่ที่ได้รับแสงอย่างพอเพียง หรือมีแสงแดดส่องถึง มิฉะนั้นสีของใบโกสนจะซีดลง

โกสนมีความสามารถอยู่บ้างในการดูดมลพิษในอากาศ ถึงแม้จะไม่มากเท่ากับไม้ประดับชนิดอื่นๆ แต่มีข้อได้เปรียบที่สีสันสวยงามของโกสน ทำให้ได้รับเลือกเป็นไม้ประดับยอดนิยมชนิดหนึ่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Codiaeum Variegatum
วงศ์ EUPHORBIACEAE
ถิ่นกำเนิด อินเดียตอนใต้ ศรีลังกา
แสงแดด แดดจัด
อุณหภูมิ 18-24 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นสูง
น้ำ ต้องการน้ำมาก
การดูแล ต้องการแสงสว่างมาก จึงควรตั้งวางไว้ใกล้หน้าต่างหรือที่มีแสงสว่างพอเพียง เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก วันละ 1 ครั้ง ต้องการความชื้นสูง ถ้าอากาศแห้งควรฉีดพ่นละอองน้ำที่ใบ ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกโรยรอบๆ โคนต้น หรือใช้ละลายรดน้ำเดือนละครั้ง เปลี่ยนกระถางทุกปี
การปลูก ขยายพันธุ์โดยการตอน ปักชำ หรือเพาะเมล็ด ควรเปลี่ยนกระถางทุกปี
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการตอน ปักชำ
อัตราการคายความชื้น ปานกลาง
อัตราการดูดสารพิษ น้อย
ที่มา http://www.ecarddesignanimation.com/home/tree_1.php


เขียวหมื่นปี

                    เขียวหมื่นปี Aglaonema
  เขียวหมื่นปี เป็นไม้ประดับที่มีใบสวยงาม สีเขียวตลอดทั้งปี สามารถเจริญงอกงามได้แม้ในที่มีแสงสว่างเพียงเล็กน้อย จึงนิยมใช้ปลูกเลี้ยงประดับภายในอาคาร นอกจากนี้เขียวหมื่นปียังทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่แห้งแล้งหรือความชื้นต่ำได้ดี
               เขียวหมื่นปี เป็นพืชในวงศ์ Araceae สกุล Aglaonema มีถิ่นกำเนิดกระจายอยู่ในประเทศเขตร้อนของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และ แอฟริกา ไม้ในตระกูลนี้คนไทยส่วนใหญ่มักจะรู้จักกันในชื่อว่านมงคลที่มีสรรพคุณต่างๆ กันตามความเชื่อถือ เช่น ว่านเขียวพันปี, ว่านเขียวหมื่นปี เชื่อว่าจะทำให้ผู้ปลูกเลี้ยงมีอายุยืนนาน ว่านกวักทองคำ เชื่อว่าจะทำให้ค้าขายดีสามารถกวักสิ่งดีๆ ให้มาหาได้ ว่านเงินเต็มบ้าน เชื่อว่าจะทำให้ร่ำรวยเงินตราไม่รู้จบ ซึ่งเขียวหมื่นปีที่ปลูกเลี้ยงกันในประเทศไทย บางพันธุ์ก็เป็นพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยเอง บางพันธุ์ก็สั่งนำเข้าจากต่างประเทศ แล้วมาตั้งชื่อเป็นภาษาไทยให้มีความหมายไปในทางมงคลเพื่อผลทางการค้า รวมถึงการนำพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาเพื่อผสมกับเขียวหมื่นปีพันธุ์พื้นเมือง เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ที่มีสีสันสวยงามแปลกตาออกไป
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aglaonema Modestum
วงศ์ ARACEAE
ถิ่นกำเนิด ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แสงแดด รำไรและในร่ม
อุณหภูมิ 16-24 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นพอควร
น้ำ ต้องการน้ำพอสมควร
การดูแล ไม่ต้องการแสงมากนัก ต้องการน้ำและความชื้นพอประมาณ ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกละลายน้ำรดเดือนละครั้ง
การปลูก ใช้แยกกอไปปลูก หรือตัดต้นหรือยอดไปปักชำ ชอบดินร่วนซุยมีอินทรีวัตถุและมีการระบายน้ำที่ดี ส่วนผสมของดินปลูกใช้ดิน 2 ส่วน ทราย 1 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน
การขยายพันธุ์ ใช้แยกกอไปปลูก หรือตัดต้นหรือยอดไปปักชำ 
อัตราการคายความชื้น ปานกลาง
อัตราการดูดสารพิษ ปานกลาง

ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=173023

เดหลี

เดหลี

Peace Lily

ดหลีเป็นไม้ประดับที่โดดเด่นมากชนิดหนึ่ง เนื่องจากให้ดอกสีขาวที่สวยงาม จึงเป็นที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับภายในอาคาร เป็นไม้ที่คายความชื้นสูง ในขณะที่มีความสามารถสูงในการดูดพิษภายในอาคาร เดหลีเป็นไม้ประดับที่มีใบสีเขียวเข้มมันเป็นวาว ดอกเป็นช่อสีขาวหรือขาวแกมเหลือง กาบหุ้มช่อดอกมีสีขาวคล้ายดอกหน้าวัว เป็นไม้พุ่มเตี้ยสูงประมาณ 30–60 เซนติเมตร โดยธรรมชาติแล้วเดหลีชอบขึ้นอยู่ตามริมลำธารที่มีร่มเงาในป่าฝนเขตร้อน แต่เมื่อนำมาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับภายในอาคารเดหลีก็สามารถปรับตัวได้ดี และเป็นไม้ดอกไม้ประดับในจำนวนน้อยชนิดที่สามารถออกดอกได้ภายในอาคาร ถึงแม้จะมีความชื้นต่ำและได้รับแสงจากหลอดไฟฟ้าเท่านั้น เพียงแต่ดินต้องมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ
เดหลีสามารถดูดสารพิษจำพวกแอลกอฮอล์ อาซีโตน ไตรคลอไรเอทีรีน เบนซีนและฟอร์มาดีไฮด์ และสามารถดูดได้ในปริมาณมาก จึงไม่ควรลืมที่จะปลูกเดหลีเป็นไม้ประดับไว้ภายในอาคารสำนักงานหรือภายในบ้านเรือน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Spathiphyllum Clevelandii
วงศ์ ARACEAE
ถิ่นกำเนิด โคลัมเบีย เวเนซูเอลา
แสงแดด แสงแดดอ่อน รำไร
อุณหภูมิ 16–24 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นสูง
น้ำ ต้องการน้ำปานกลาง
การดูแล ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้น ควรรดมากขึ้นถ้าอากาศร้อน แต่ถ้าอากาศเย็น ก็ลดปริมาณการรดน้ำลง ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกละลายน้ำรดเดือนละ 1–2 ครั้ง หมั่นทำความสะอาดใบจะช่วยป้องกันแมลงได้
การปลูก ปลูกลงกระถางโดยใช้ส่วนผสมของ ดินร่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก เศษใบไม้ผุ และทรายหยาบ ในอัตราส่วน 2:1:1:1
การขยายพันธุ์ การแยกกอ
อัตราการคายความชื้น มาก
อัตราการดูดสารพิษ มาก

ที่มา http://www.panmai.com/Pollution/Pollution_11.shtml

เศรษฐีเรือนใน

เศรษฐีเรือนใน

Spider Plant

เศรษฐีเรือนในเป็นไม้ประดับชนิดแรกๆ ที่ได้รับการเผยแพร่จากองค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกา ว่ามีคุณสมบัติในการดูดสารพิษภายในอาคารได้เป็นอย่างดี เศรษฐีเรือนในเป็นไม้กอขนาดเล็กที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั้งภายในและภายนอกอาคาร โดยปลูกในกระถางแขวนหรือปลูกเป็นพืชคลุมดินก็ได้ ใบมีลักษณะคล้ายใบหญ้า ขอบใบมีสีเขียวยาวตลอดใบ กลางใบเป็นสีขาว ใบมีความยาว 15–30 ซม. โค้งงอลงด้านล่าง
เศรษฐีเรือนในมีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน เมื่อแก่เต็มที่จะมีลำต้นอ่อนแตกออกมาเป็นกิ่ง มีต้นอ่อนเล็กๆ เป็นกระจุกอยู่ตรงปลายของกิ่ง ดูน่ารักดี ฝรั่งจึงเรียกว่า ต้นแมงมุม (Spider Plant) หรือ ต้นเครื่องบิน (Airplane Plant) เนื่องจากเวลาลมพัดต้นอ่อนจะแกว่งไปมาเหมือนเครื่องบิน ต้นอ่อนที่แตกออกมานี้สามารถตัดไปปลูกเป็นต้นใหม่ได้อย่างง่ายดาย
เศรษฐีเรือนในเป็นพืชที่ไม่ค่อยคายน้ำเท่าใดนัก แต่มีการดูดสารพิษจากอากาศภายในอาคารได้ดีมากชนิดหนึ่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cholorophytum comosum. (Anthesicum Picturatum)

วงศ์

LILIACEAE

ชื่อสามัญ

Spider Plant.

ชื่ออื่นๆ

-

ลักษณะทั่วไป

ลักษณะเช่นเดียวกับเศรษฐีเรือนนอก และเศรษฐีเรือนกลาง ใบมีลักษณะเดียวกับเศรษฐีเรือนนอก แต่ลายด่างขาวหรือขาวนวลจะอยู่ส่วนกลางใบ ขอบใบเป็นสีเขียว ออกดอกเหมือนกับว่านเศรษฐีเรือนกลาง

การปลูก

ควรปลูกในดินร่วนซุย หรือดินปนทราย ที่ระบายน้ำได้ดี หากมีอิฐหักหรือหินเล็กๆ ปนลงไปด้วยจะช่วยให้แตกกอเร็วขึ้น ต้องการน้ำปานกลางสม่ำเสมอ ความชื้นสูง แดดรำไร จะปลูกลงกระถางแขวน หรือกระถางทรงเตี้ยปากกว้างก็สวยงามดี

การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ หรือใช้ต้นอ่อนที่เกิดจากไหลไปปลูกใหม่

ความเป็นมงคล

ว่านเศรษฐีเรือนใน มีสรรพคุณด้านเสี่ยงทายและป้องกันภัยอันตรายทั้งปวง เช่นเดียวกับว่านเศรษฐีเรือนนอก และเศรษฐีเรือนกลาง
ที่มา http://www.panmai.com/Pollution/Pollution_27.shtml


แววมยุรา

แววมยุรา

Prayer Plant

แววมยุราเป็นพืชพันธุ์ไม้เลื้อยกึ่งคลุมดินในตระกูลเดียวกับคล้า แต่การปลูกเลี้ยงง่ายกว่ามาก เพราะมีความอดทนและเจริญเติบโตได้ง่ายในทุกสภาวะของห้อง แววมยุรามีใบด้านหน้าสีเขียวสลับลายเขียวแก่หรือน้ำตาล ส่วนหลังใบมีสีเขียวอมแดงหรือม่วงมีลายสลับเช่นเดียวกัน เนื่องด้วยใบมีลวดลายและสีสันสวยงามคล้ายหางนกยูงจึงได้ชื่อไทยว่า “แววมยุรา” ส่วนภาษาอังกฤษได้ชื่อว่า “Prayer Plan” แปลว่า ต้นไม้พนมมือ โดยตั้งชื่อตามลักษณะการกระดกของใบตั้งขึ้นเหมือนการพนมมือตอนใกล้ค่ำ พอตอนรุ่งเช้าใบก็จะคลี่ออกตามเดิม
แววมยุราเป็นไม้ประดับภายในอาคารที่ช่วยทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื้นภายในห้องได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าคุณสมบัติในการดูดสารพิษจะน้อยไปสักนิดก็ตาม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Maranta Leuconeura
วงศ์ MARANTACEAE
ถิ่นกำเนิด บราซิล อเมริกาใต้
แสงแดด กึ่งแดด กึ่งร่ม
อุณหภูมิ 18–24 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นสูง
น้ำ ต้องการน้ำมาก
การดูแล เป็นพันธุ์ไม้ที่ต้องการแดดปานกลาง แต่ไม่ชอบแสงแดดโดยตรง ต้องการน้ำมาก ความชื้นสูง จึงควรรดน้ำให้ดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ ถ้าอากาศร้อนหรือแห้งแล้งมาก ก็ให้ฉีดพ่นละอองน้ำให้ใบชุ่มชื้น ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกละลายน้ำรดเดือนละครั้ง
การปลูก ควรปลูกในดินที่อุ้มน้ำได้ดี ส่วนผสมดินใช้ดินเหนียวผสมดินร่วน 2 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน เศษใบไม้ผุ 1 ส่วน ทราย 1 ส่วน
การขยายพันธุ์ การแยกกอหรือแบ่งเหง้าที่โตเต็มที่แล้วมาปลูก
อัตราการคายความชื้น ปานกลางถึงมาก
อัตราการดูดสารพิษ น้อย

ที่มา http://www.panmai.com/Pollution/Pollution_35.shtml

เศรษฐีรับเงิน


เศรษฐีรับเงิน

ถือกันว่าเป็นว่านทางเมตตามหานิยม หากทำมาค้าขาย ก็จะซื้อขายคล่อง และยังเป็นว่านเสี่ยงทาย คือหากปลายใบม้วนเป็นวงหมดทุกใบ ธุรกิจการงาน จะประสบความสำเร็จดี ยิ่งถ้าว่านออกดอกจะยิ่งมีโชคลาภยิ่งขึ้น แต่ถ้าใบตรงไม่ม้วนงอ ก็จะไม่มีโชคลาภธุรกิจการงานไ ม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
ชื่อที่เรียก
เศรษฐีรับเงิน
ชื่ออื่นๆ
สโนว์ดรอป
หมวดหมู่ทรัพยากร
พืช
ลักษณะ
เป็นพืชตระกูลเดียวกับสาวน้อยประแป้ง เป็นไม้ลูกผสมที่เป็นไม้ประดับชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาประดับในสำนักงาน อาคาร และ บ้านเรือน ด้วยรูปทรงสีสันและลวดลายของใบที่คล้ายกับหินอ่อน ใบเป็นรูปใบพายขอบใบมีสีเขียว แผ่นใบมีสีขาวอมเหลือง หากนำมาปลูกภายในถ้าได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ สันและลวดลายของใบจะเปลี่ยนไป
ประโยชน์
 ดูดสารพิษได้ ปานกลาง-มาก
แหล่งที่พบ
บ้าน
ตำบล
คลองตำหรุ
อำเภอ
เมืองชลบุรี
จังหวัด
ชลบุรี
ฤดูกาลใช้ประโยชน์
ตลอดทั้งปี
ศักยภาพการใช้งาน
ดูดสารพิษ
ชื่อสามัญ
เศรษฐีรับเงิน
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dieffenbachia camilla
ชื่อวงศ์
Araceae (Arum)




หนวดปลาหมึก

หนวดปลาหมึก

Umbrella Tree

หนวดปลาหมึกจัดเป็นไม้พุ่มประดับที่สูงเต็มที่ไม่เกิน 2-3 เมตร เจริญเติบโตเร็วมาก ใบมีสีเขียวเป็นมัน หนวดปลาหมึก มีหลายชนิด มีทั้งใบเล็ก ใบใหญ่ แต่จะมีลักษณะเหมือนกันคือใบจะแตกออกมาจากกิ่งเดียว โดยแต่ละกิ่งจะมีใบประมาณ 7-15 ใบ และกางออกคล้ายกับนิ้วของคน
หนวดปลาหมึกนิยมปลูกเป็นแนวสวนของบ้าน เพราะฟอร์มใบเป็นแฉกสวยงาม เลี้ยงดูง่าย ชอบแดดกึ่งร่ม ชอบน้ำและความชื้น แต่เมื่อนำหนวดปลาหมึกมาปลูกภายในอาคารก็สามารถเจริญเติบโตได้ดีและมีการเจริญเติบโตที่สม่ำเสมอ ควรรดน้ำวันเว้นวัน เมื่อปลูกไปนานๆ หนวดปลาหมึกจะมีลำต้นที่สูง จึงควรตัดยอดออกเพื่อให้แตกกิ่งก้านสาขาและทรงพุ่มสวยงาม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Schefflera actinophylla

วงศ์ ARALIACEAE
ถิ่นกำเนิด ประเทศควีนแลนด์ ปาปัวนิวกินี และอินโดนีเซีย
แสงแดด ปานกลาง
อุณหภูมิ 24-27 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นปานกลาง และต้องการมากในขณะที่ต้นยังเล็ก
น้ำ ต้องการน้ำปานกลาง
การดูแล ต้องการแสงสว่างในการเจริญเติบโตแต่ไม่ชอบแสงแดดโดยตรง ควรให้น้ำแต่น้อย แต่ให้บ่อยๆ ครั้งโดยจับดินในกระถางดู ถ้าแห้งควรให้น้ำ
การปลูก ขยายพันธุ์โดยการตัดชำ ดินปลูกใช้ดินร่วน 2 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า 1 ส่วน ใบไม้ผุ 1 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน ใช้ปุ๋ยคอกละลายน้ำรดเดือนละ 2 ครั้ง ควรเปลี่ยนกระถางใหม่ทุกปี
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการตัดชำ
อัตราการคายความชื้น ปานกลาง
อัตราการดูดสารพิษ ปานกลาง
                                                                            ที่มา http://www.panmai.com/Pollution/Pollution_15.shtml

เข็มริมแดง

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว
นาย จิรานุวัฒน์ เรืองปลอด ชื่อเล่น  นุ  
ม.4/7 เลขที่ 2  โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา 
อ. เมือง  จ.สุราษฎร์ะานี
สถานะ โสดแต่มีคนโปลดในจัย
วิชาที่ชอบ  เคมี คณิตศาสตร์
สีที่ชอบ   ฟ้า น้ำเงิน  
งานอดิเรก   เล่นเกม , บอล , ฟุตซอล
น้ำหนัก  56 Kg.   ส่วนสูง 176 Cm.
คติประจำจัย เรียนๆ ลุยๆ ไปคุยที่โรงพัก เรียนๆ รักๆ ไปพักที่โรงแรม